วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

เตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

แนวทางในการเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

คำอธิบายรายวิชาการเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 2 (90)
จัดให้มีกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพในก้านการรับรู้ลักษณะและโอกาสของการประกอบอาชีพ การพัฒนาตัวผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ แรงจูงใจและคุณลักษณะที่เหมาะสมกับวิชาชีพ โดยการกระทำในสถานการณ์หรือรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานในวิชาชีพนั้น ๆ
แนวทางในการเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
1.เตรียมการและปฐมนิเทศนักศึกษาก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ให้ไปศึกษาและสังเกตสถานประกอบการ
2. ศึกษาดูงานในโรงงานอุตสาหกรรมหรือสถานประกอบการ ในลักษณะ
- ดู - สัมภาษณ์
- ฟัง - สังเกต
- ซักถาม
ในเรื่องต่อไปนี้
- สภาพทั่วไปของสถานประกอบการหรือโรงงาน
- การปฏิบัติในสถานประกอบการหรือโรงงาน
- การบริหารและบริการของสถานประกอบการ หรือโรงงาน
- ศึกษาการปฏิบัติงานในสถานประกอบการหรือโรงงาน
- ภารกิจของสถานประกอบการ
- พฤติกรรมของพนักงาน
ฯลฯ
3. เชิญวิทยากรจากสถานประกอบการหรือโรงงานมาให้ความรู้เกี่ยวกับการฝึกปฏิบัติงาน
4. สร้างสถานการณ์จำลองเพื่อฝึกในการแก้ปัญหาการปฏิบัติงาน เช่น
- กรณีศึกษา
- วิเคราะห์จากสถานการณ์จำลอง เช่น V.D.O.
5. จัดประสบการณ์เสริมในด้านที่นักศึกษายังขาด เช่น
- ความรู้เกี่ยวกับงานที่จะฝึก
- เทคนิควิธีในการปฏิบัติงาน
- คุณลักษณะอื่น ๆ เช่น คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม ความตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบ การอนุรักษ์สภาพแวดล้อม ฯลฯ
6. ควรมี V.D.O. เกี่ยวกับงานที่เกี่ยวข้องให้นักศึกษาดู
แนวการแสวงหา และการคงสภาพแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
2.1 แนวการแสวงหา
2.1.1 บุคลากรที่มีส่วนในการแสวงหาแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพนักศึกษา อาจารย์ คณะกรรมการประสบ
การวิชาชีพ และอื่น เช่น
-ผู้ปกครองหรือญาติของนักศึกษาที่มีธุรกิจ หรือราชการที่เกี่ยวข้องกับแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
-นักศึกษา กศ.บป.ซึ่งทำงานอยู่แล้วในสถาบันที่ใช้เป็นแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เป็นต้น
2.1.2 วิชาการแสวงหาแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
สถาบันควรจะดำเนินการดังนี้
1) เสนอโครงการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพไปยังแหล่งฝึกงาน ล่วงหน้าอย่างน้อย 1 ภาคเรียน
2) สำรวจแหล่งฝึกงาน โดยนำนักศึกษาเยี่ยมชม สถานประกอบการ
3) เชิญผู้บริหารหัวหน้างานหรือบุคลากรในสถานประกอบการมาเป็นวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ หรืออาจารย์พิเศษของสถาบัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน
4) ให้บุคลากรในสถาบัน ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานธุรกิจหรือหน่วยงานที่จะใช้เป็นแหล่งฝึกงานช่วยแสวงหาแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
2.2 การคงสภาพแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
สถาบันควรจะดำเนินการคงสภาพแหล่งฝึกงานดังนี้
1.เตรียมนักศึกษาให้พร้อมและตรงกับความต้องการของแหล่งฝึกงาน
2.นักศึกษาจะต้องปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่หน่วยงานอย่างเต็มที่
3.ให้เกียรติบัตรแก่แหล่งฝึกงาน
4.เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ผลงานของนักศึกษาและแหล่งฝึกงานทางสื่อมวลชน
กระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
3.1 การเตรียมการกาปฐมนิเทศ
3.1.1 ความสำคัญของการปฐมนิเทศ
1. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจในขั้นตอนกระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
2.เตรียมความพร้อมและการวางตนให้เหมาะสมในฐานะเป็นตัวแทนของสถาบัน
3.1.2 หัวข้อเรื่องในการปฐมนิเทศ
3.1.2.1 แนะนำเอกสารที่นักศึกษาความทราบและทำความเข้าใจ ดังนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น